วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

SBM


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School -  Based  Management  :  SBM)

ศิริพร  ใจห้าว

5577701005

แนวความคิดหรือทฤษฎีที่ใช้

 คำว่า School-Base-Management หรือ SBM เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรษที่ 1980 ในภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติ ศัพท์ที่แน่นอน ส่วนมากนิยมทับศัพท์ว่า School-Base-Management หรือเรียกย่อๆ ว่า SBM ส่วนคำว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน นั้นเป็นคำที่ เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์ และคณะ กำหนดขึ้นแทนคำว่า School-Base-Management ในการวิจัยเรื่อง การกระจายอำนาจจัดการศึกษา พ.ศ.2541 (เสริมศักดิ์ วิสาลาภรณ์และคณะ,2541)    มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคำว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ไว้แตกต่างกันและสรุปได้ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารจัดการที่โรงเรียนมีอำนาจอิสระในการ ดำเนินการ โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า ของสถานศึกษา และผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุน

หลักการและข้อดี
         หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยทั่วไปได้แก่
1. หลักการกระจายอำนาจ (
Decentralization) เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษา ให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่า โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการที่สำคัญในการ

เปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา จึงควรมีอำนาจมีอิสระในการตัดสินใจดำเนินการ
2. หลักการมีส่วนร่วม (
Participation or Collaboration or Invovement) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มี ส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาทั้งครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน
3.หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน (
Retern Power to People) การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัด เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ความเจริญต่างๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เกิดความล่าช้าและไม่ ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง
4.หลักการบริหารตนเอง (
Self-managing) ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายของ ส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี
5.หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (
Check and Balance) ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจ สอบการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามนโยบายของชาติ
จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะเป็นการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษาที่ผ่านมา

รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

จากการศึกษาพบว่า มีรูปแบบที่สำคัญอย่างน้อย  4 รูปแบบ ได้แก่

                1. รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก  (Administration  Control  SBM)  ผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการอื่น ๆ ได้จากการเลือกตั้งหรือคัดเลือกจากกลุ่มผู้ปกครอง ครู และชุมชน คณะกรรมการมีบทบาทให้คำปรึกษา แต่อำนาจการตัดสินใจยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน

                2. รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก  (Professional  Control  SBMเกิดจากแนวคิดที่ว่า ครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด ย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ตัวแทนคณะครูจะมีสัดส่วนมาก ที่สุดในคณะกรรมการโรงเรียน  ผู้บริหารยังเป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร

                3. รูปแบบที่ชุมชนมีบทบาทหลัก  (Community  Control  SBMแนวคิดสำคัญ คือ การจัดการศึกษาควรตอบสนองความต้องการและค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด ตัวแทนของผู้ปกครอง และชุมชนจึงมีสัดส่วนในคณะกรรมการโรงเรียนมากที่สุด ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนเป็นประธานคณะกรรมการ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการ บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการ  โรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร

4. รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก  (Professional  Community  Control  SBM)  แนวคิดเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้งครูและผู้ปกครองต่างมีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มต่างอยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด รับรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีที่สุด สัดส่วนของครูและผู้ปกครอง (ชุมชน) ในคณะกรรมการโรงเรียนจะมีเท่า ๆ  กันแต่มากกว่าตัวแทนกลุ่มอื่น ๆ      ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธาน   บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร

สำหรับประเทศไทย  ได้ยึดเอารูปแบบที่  3  คือ  รูปแบบชุมชนมีบทบาทหลัก  ซึ่งเป็นผลจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 

ขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  
                1.วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
                2. กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
                3. กำหนดกลยุทธ์/ วางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
                4. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
                5. ประเมินตนเอง/   ประเมินภายใน
                6. รายงานประจำปี/รายงานการประเมินตนเอง     

 กระบวนการดำเนินงาน
• สร้างความเข้าใจแก่ครูทุกคน และผู้ปกครอง ชุมชนว่าSBM คืออะไร
• ศึกษาจุดเด่น จุดด้อยของ SBM ที่มีการทดลองใช้ที่อื่นแล้วนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
• ผู้บริหารโรงเรียนและครูต้องทำงานหนัก ชักชวน เชิญชวนให้ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
• ผู้บริหารโรงเรียน และครูต้องสื่อสารกับผู้ปกครองและชุมชน ให้เข้าใจว่าจะมีการแบ่งอำนาจหรือร่วมกันใช้อำนาจ ในการตัดสินใจในเรื่องใดและอย่างไร
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทใหม่ของครู บุคลากรในโรงเรียนชุมชน และทำให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวปฏิบัติตามบทบาทใหม่อย่างมีความสุข
• กระจายอำนาจการตัดสินใจให้คณะกรรมการสถานศึกษาอย่างแท้จริง
• ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความสำเร็จของ SBM จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเวลา
• การนำ SBM ไปใช้ในโรงเรียน ต้องดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป
•  ครูมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในกิจกรรมที่เกี่ยวกับห้องเรียน
• สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีในโรงเรียน แบ่งเวลาให้กับการวางแผน และการเรียนการสอนของโรงเรียน
ผลที่เกิดขึ้น
              1.
 เกิดการกระจายอำนาจภายในโรงเรียน
              2.
 ตัวแทนของผู้มีผลประโยชน์ได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
              3.
 เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบฐานข้อมูล
             4.
 มีการจัดโครงสร้างองค์กรให้เป็น ระบบครบวงจรมีเป้าหมายและแผนงานที่ชัดเจน
             5.
 มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
             6.
 บุคลากรในโรงเรียนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
             7.
 โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
             8.
 มีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
             9.
 มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

 

 

อ้างอิง

             การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  สาระสังเขปค้นเมื่อ 1 มีนาคม2556 จาก

                                  http://www.thaigoodview.com/node/78472

             การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  สาระสังเขปค้นเมื่อ 1 มีนาคม2556 จาก

                                  http://www.moe.go.th/wijai/sbm.htm

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  สาระสังเขปค้นเมื่อ 1 มีนาคม

                   2556  จาก  http://www. school.obec.go.th/watdonwai/e.../M.../admin2.doc

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น